องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานฝนหลวง ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน

ติดตามข่าว ประจวบโพสต์
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

                                   พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข    องคมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง ประจำปี 2565 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานฝนหลวง  ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน

                                วันนี้ (16 มีนาคม 2565) ในช่วงบ่าย. ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง ครั้งที่ 1/2565 เพื่อติดตามการดำเนินงานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในปี 2565 และความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อเนื่องจากปี 2564 ในการช่วยบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งและความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในปี 2565 มีหลายพื้นที่เริ่มมีสถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้น น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ มีปริมาณน้ำเก็บกักลดลงตามลำดับ และในช่วงฤดูร้อนนี้มีแนวโน้มของสถานการณ์การเกิดไฟป่า ปัญหาหมอกควัน และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินเกณฑ์มาตรฐานซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมไปถึงแนวโน้มการเกิดพายุลูกเห็บในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงจัดทำแผนการปฏิบัติการฝนหลวง บูรณาการร่วมกับกองทัพอากาศ จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 9 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงกระจายทั่วทุกภูมิภาค เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว

                             ต่อจากนั้น พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และตรวจแถวชุดปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อให้ขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ภายในหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง และห้องปฏิบัติการวิจัยคุณภาพน้ำฝนอีกด้วย

  

                       สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินงานจากปี 2564 ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าด้านการจัดตั้งศูนย์เฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กำลังดำเนินการตามแผนการก่อสร้างอาคารในระยะที่ 1 (ปี 2565-2567) ประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ตอนบน พิพิธภัณฑ์พระบิดาแห่งฝนหลวง โรงเก็บสารฝนหลวง บ้านพัก อาคารอเนกประสงค์ ส่วนในระยะที่ 2(ปี 2566-2568) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และกรมโยธาธิการและผังเมืองได้สรุปร่างแบบสถาปัตยกรรมและถอดแบบโครงสร้างภายในของงานระยะที่ 2 เรียบร้อยแล้ว โดยจะประเมินราคาสำหรับขอตั้งงบประมาณปี 2566-2568 ประกอบด้วย อาคารสำนักงานและฝึกอบรม และห้องปฏิบัติการเคมีเพื่อดำเนินการต่อไป

              ด้านความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ จังหวัดตาก มีความก้าวหน้าตามแผนการก่อสร้างไปแล้ว 65.51% ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จอีก 87 วัน และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนมิถุนายน 2565

                 ด้านความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ขณะนี้กำลังดำเนินงานระยะที่ 2 ประกอบด้วย การปูยาง A/C Hot Mixed ไหล่ทางวิ่ง การปูยาง A/C Hot Mixed ผิวทางขับ งานลานคอนกรีต ทาสีตีเส้นจราจรงานระบบไฟฟ้าสนามบิน และระบบไฟฟ้าภายใน และระยะที่ 3 คือ การสร้างถนนเลี่ยงทางวิ่ง สร้างรั้ว AIRSIDE และรั้วแนวเขต กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2566 เพื่อดำเนินการปรับปรุงระยะที่ 4 ในปี 2567

                   นอกจากนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เพื่อสนับสนุนงบประมาณโครงการการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและภัยพิบัติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ และซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์การบิน สำหรับเครื่องบินและเครื่องเฮลิคอปเตอร์ เป็นเงิน 15,229,888 บาท อีกด้วย

                         อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2565 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้เริ่มปฏิบัติการภารกิจมาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลการปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 13 มีนาคม 2565 ปฏิบัติการไปแล้วรวม 4 วัน 20 เที่ยวบิน มีจังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 7 จังหวัด มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 1.4 ล้านไร่ และทำให้มีฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 3 แห่ง ปริมาณน้ำ รวม 0.3 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งยังได้ปฏิบัติภารกิจบรรเทาการเกิดพายุลูกเห็บ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 13 มีนาคม 2565

                          โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก มีการขึ้นบินรวม 2 วัน รวม 4 เที่ยวบิน ใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 91 นัด ไม่พบรายงานลูกเห็บตกในพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา เชียงใหม่ และพิษณุโลก อันเป็นการดำเนินงานตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรต่อไป

อย่าลืม!!!             

ติดตามข่าวสารจาก Face book : Prachuppost Newspaper

📌กดติดดาว ⭐️ เพจ …จะได้ไม่พลาดโพสต์ของเรา…ได้ที่นี่

https://www.facebook.com/prachuappost/
https://www.facebook.com/prachuppost/

***กดเข้ากลุ่ม 👨👩👧👦 กับ ประจวบโพสต์นิวส์ ได้ที่นี่

https://www.facebook.com/groups/387550115078888/

ติดตาม #ประจวบโพสต์นิวส์ #Prachuppostnews ได้ใน

Website: http://www.prachuppostnews.com/

YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCXnxGL0eeJZsm6vNRqaSUVA…

Twitter: https://twitter.com/prachuppostnews

IG : www.instagram.com/ prachuppostnews