“บิ๊กตู่” ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ปัดตอบ “พปชร.” เสนอนั่งเก้าอี้นายกฯ อันดับ 1

ติดตามข่าว ประจวบโพสต์
  • 19
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
    19
    Shares

“บิ๊กตู่” ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ปัดตอบ “พปชร.” เสนอชื่อนั่งเก้าอี้นายกฯ อันดับ 1

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคณะ อาทิ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชัยภูมิ โดยนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธตอบคำถาม กรณีพรรคพลังประชารัฐ จะเสนอชื่อตนเอง เป็น 1 ใน 3 แคนดิเดต นายกรัฐมนตรีของพรรค ในลำดับที่ 1 ว่ามีการทาบทามแล้วหรือไม่

จากนั้น นายกฯ พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดชัยภูมิ 2 จุด โดยจุดแรก ในช่วงเช้าเวลา 10.30น.เปิดตัวโครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการก่อสร้างเก็บน้ำลำสะพุง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เกิดจากความต้องการของประชาชนมานานกว่า 30 ปี ที่ตั้งโครงการบ้านนาเจริญ ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยในปี พ.ศ.2536 ราษฎรอำเภอหนองบัวแดง ได้ถวายฎีกาเพื่อให้ก่อสร้างโครงการ และในปี พ.ศ.2560 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริถึง 4 ปี คือปี 2525, 2526, 2536 และปีที่ 4 ปี 2540 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนองแนวพระราชดำริมาตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา หลังจากรัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์น้ำของชาติ เพื่อเร่งรัด ติดตาม ดำเนินโครงการต่างๆที่มีปัญหาให้สามารถเดินต่อไปได้ เริ่มวางยุทธศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2558 จนเกิดการศึกษารายละเอียด จนในที่สุดได้ปรับแบบการก่อสร้าง โดยลดพื้นที่ของป่าลงจาก 2,100 ไร่เหลือ 354 ไร่ และถอยร่นจุดที่จะก่อสร้างลงมาจากเดิม 3 กิโลเมตร ซึ่งจุดใหม่นี้ส่วนมากเป็นที่ สปก. ตรงนี้สามารถแก้ปัญหาติดขัดมา 30 กว่าปีได้แล้ว  โดยอ่างใหม่นี้สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม จาก 32 ล้าน เป็น 47 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือเป็นความสำเร็จของทุกฝ่าย ที่ได้เสียสละที่ดิน จนเดินหน้าโครงการต่อไปได้ โดย ครม.ได้เห็นชอบและอนุมัติโครงการก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 โดยจะก่อสร้างเป็นเขื่อนเก็บน้ำ ความยาว 2 พัน 270 เมตร ความสูง 36 เมตร ความยาว  2,270 เมตร ความจุ 48.13 ล้าน ลบ.เมตร และมีถนนรอบอ่าง ความยาว 2 พัน 914 เมตร พื้นที่เก็บน้ำในอ่าง 3 พัน 134 ไร่ พื้นที่หัวงานอาคารประกอบ 1 พัน 079 ไร่ รวมประมาณ 4 พัน 213 ไร่ รวมประมาณ 4 พัน 213 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2566 งบประมาณ 2 พัน 965 ล้านบาท ผลประโยชน์สามารถส่งน้ำให้พื้นที่รับประโยชน์ ในฤดูฝน 4 หมื่นไร่ ฤดูแล้ง 8 พันไร่ และส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้อีกประมาณ 2.16 ล้าน ลบ.ม./ปี ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำลำสะพุงฯ รวมไปถึงพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นแหล่งเก็บน้ำให้กับราษฎรเพื่อการอุปโภค บริโภคในตำบลหนองแวง ตำบลหนองบัวแดง ประมาณ 2 หมื่น 9 พัน 960 ราย

จุดที่ 2 ในช่วงบ่าย พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเปิดฝายตัวที่ 111 เปิดระบบกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ปลูกต้นไม้ ตามโครงการป่ารักษ์น้ำโล่ใหญ่ชัยภูมิ บริเวณป่าโล่ใหญ่ ใกล้กับบ้านวังโพน ต.ท่าหินโงม อ.เมืองชัยภูมิ ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นโครงการใหญ่ ของจังหวัด โดยการนำของนายณรงค์  วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ในการหล่อหลอมดวงใจชาวชัยภูมิและชาวไทยทั้งประเทศ เสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อการสร้างน้ำ สร้างป่า ฟื้นภูเขาหัวโล้นให้คืนความสมบูรณ์ โดยน้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร การปลูกป่าในใจคน โดยการปลูกป่าหลากสี พระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  เรื่องพระเจ้าอยู่หัวเป็นป่าฉันจะเป็นน้ำ โดยการสร้างฝายมีชีวิต และพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เรื่องจิตอาสาเราทำดีด้วยหัวใจ มาเป็นแนวทางในการทำงาน ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน จ.ชัยภูมิ แห่งเทือกเขาภูแลนคา ใกล้กับบ้านวังโพน ตำบลท่าหินโหม อำเภอเมืองชัยภูมิ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900 เมตร เพื่อช่วยกันฟื้นคืนธรรมชาติป่าต้นน้ำโล่ใหญ่ชัยภูมิ ให้ฟื้นคืนกลับคืนมาสร้างความอุดมสมบูรณ์ของป่า ให้ทุกฝ่ายช่วยกันดูแลปลูกป่า สร้างฝายน้ำล้น สร้างผืนป่าซับน้ำ ในพื้นที่ให้เกิดเป็นภูเขาป่าหลากสี มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีต่างๆทั้งเหลือง แดง ส้ม ม่วง และได้เป็นต้นแบบให้เป็นแหล่งรวมพันธุ์ไม้ตามโทนสีต่าง ๆ ตามมา ในแต่ละฤดูกาล และคาดว่าจะนำไปสู่การเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาชมพันธุ์ไม้ธรรมชาติเป็นศูนย์เพาะพันธุ์พืชพันธุ์ไม้ป่า หายากตามมาในอนาคตต่อไปได้ด้วยดีต่อไป มีเป้าหมายต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ปีให้เป็นแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวแห่งใหม่ให้คนรุ่นหลัง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว คืนความสมบูรณ์ให้กับป่าเขาหัวโล้น ในพื้นที่แห่งนี้ โดยปลูกป่าไปแล้ว 70,000 กว่าไร่ ต้นไม้ที่ปลูกทั้งสิ้น 296,000ต้น สร้างฝ่ายชีวิตไปแล้วจำนวน 110 ฝ่าย

ภาพ – ข่าว ชัยภูมิ / สุทธิพงศ์ 

ประจวบโพสต์นิวส์ / Prachuppostnews

  • 19
    Shares