สถานการณ์ไฟป่า-หมอกควัน-ฝุ่นละออง แม่ฮ่องสอนลดลง

ติดตามข่าว ประจวบโพสต์
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

                              จากข้อมูลในปี พ.ศ.2565 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ตระหนักและให้ความสําคัญในการแก้ไขปัญหา ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง โดยกําหนดเป็นวาระเร่งด่วนของจังหวัด ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อน วาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” โดยได้ตั้งศูนย์อํานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน และบูรณา การหน่วยงานและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการศูนย์อํานวยการฯ (คณะกรรมการชุดใหญ่) จํานวน 56 และได้มีการแต่งตั้งคณะทํางานจํานวน 9 ชุด ประกอบด้วย คณะทํางานศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือ ศูนย์ Warroom จังหวัด ,คณะทํางานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และ ฝุ่นละออง ระดับอําเภอ ทั้ง 7 อําเภอ,คณะทํางานด้านการประชาสัมพันธ์ และสื่อสารมวลชน หรือ โฆษกศูนย์อํานวยการฯ ทั้งนี้โดยคณะทํางานทุกชุด จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจําปีพ.ศ.2565                         

  

                  นายเชษฐา  โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่าได้กําหนดเป้าหมายการลดความรุนแรงของสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ตามนโยบายของรัฐบาล ประกอบด้วยจุดความร้อนสะสม ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 20 หรือลดลง 2,389 จุด ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 20 หรือไม่ โดยพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 20 หรือลดลง 265,036 ไร่ จํานวนผู้ป่วย 5 กลุ่มโรค ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 10ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่มีการจัดตั้งห้องปลอดฝุ่น หรือ Clean Room ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง มีการนําวัสดุเชื้อเพลิงมาใช้ประโยชน์ ในรูปแบบ “ชิงเก็บ ลดเผา” ไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน

                  โดยกําหนดมาตรการหลัก ประกอบด้วย 8 มาตรการ ดังนี้ มาตรการประชาสัมพันธ์ ,มาตรการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ ประกอบด้วย ,การบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยการนําเชื้อเพลิงมาใช้ประโยชน์ หรือ มาตรการ “ชิงเก็บ ลดเผา” ,การบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยการชิงเผาตามหลักวิชาการ และมาตรการลาดตระเวน เฝ้าระวัง และดับไฟ ,มาตรการเผชิญเหตุ ในสถานการณ์วิกฤติรุนแรง ,มาตรการลดฝุ่นละอองในพื้นที่เขตเมือง ,มาตรการดูแลสุขภาพของประชาชน ,มาตรการบังคับใช้กฎหมาย,มาตรการสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย การฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ ,การน้อมนําพระราชดําริ “สร้างป่า สร้างรายได้ ” ,การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งเสริมเครือข่ายเกษตรกรและชุมชน ปลอดการเผา

             นายรุ่งโรจน์  อัศวกุลธารินท์  ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน  กล่าวว่าสถานการณ์ไฟป่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 1 เมษายน 2565 พบว่า    จุดความร้อนสะสมเกิดขึ้นจํานวน 3,812 จุด คิดเป็นร้อยละ 31.91 ของภาพรวมปี 2564 เมื่อพิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบ ทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ พบว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดความร้อนสะสมสูงสุด แต่ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา ถึงร้อยละของจุดความร้อนที่ลดลง ณ ห้วงเวลา เดียวกัน พบว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถ ลดจุดความร้อน ณ ห้วงเวลาเดียวกัน ได้ร้อยละ 69.2 ลดลงได้มากเป็นลําดับที่ 10 ของ 17 จังหวัดภาคเหนือ และเป็นลําดับที่ 5 ของ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ตั้งไว้ คือ ลดจุดความร้อนลงร้อยละ 20 หรือ ไม่เกิน 9,556 จุด ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้น 3,812 จุด คิดเป็นร้อยละ 39.89 ของเป้าหมาย    ในขณะที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ซึ่งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีตรวจวัดอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และสถานีตรวจวัดอําเภอแม่สะเรียง โดยมีผลการตรวจวัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงปัจจุบัน ดังนี้สถานีตรวจวัดอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน มีจํานวนวันที่ค่า Pm 2.5 เกินมาตรฐาน จํานวน 30 วัน (ค่ามาตรฐานกําหนดไว้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร) สถานีตรวจวัดอําเภอแม่สะเรียง มีจํานวนวันที่ค่า Pm 2.5 เกินมาตรฐาน จํานวน 14 วัน (ค่ามาตรฐาน กําหนดไว้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร)

 

                โดยค่าสูงสุดที่วัดได้ เท่ากับ 158 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 ณ สถานีตรวจวัด อําเภอแม่สะเรียง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น โดยปี 2564 มี จํานวนวันที่ฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐาน จํานวน 49 วัน ซึ่งปี 2565 ณ ปัจจุบัน มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว จํานวน 41 วัน อีกทั้ง ค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่ตรวจวัดได้ ในปี 2565 เท่ากับ 158 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2564 ซึ่งมีความเข้มข้นสูงถึง 329 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

             นายรุ่งโรจน์  อัศวกุลธารินท์  ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน  กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน ในห้วงที่ผ่านมา พบว่า จุดความร้อนสะสมลดลงเป็นจํานวนมาก แต่ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ยังมีแนวโน้มที่สูงและ อยู่ในระดับที่เกินมาตรฐาน โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ หมอกควันและทิศทางลม ประกอบกับจํานวนการเกิด จุดความร้อนสะสมในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า สาเหตุที่สําคัญอีกประการหนึ่งของค่าฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน มาจากจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีจํานวนมาก เมื่อประกอบกับทิศทางลมที่พัดเข้าสู่จังหวัด แม่ฮ่องสอน ทําให้ฝุ่นละออง Pm2.5 เข้ามาสะสมในพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งมีสภาพเป็นแอ่งกระทะ จึงส่งผลให้ค่าฝุ่น ละออง Pm2.5 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องหลายวัน

อย่าลืม!!!      

ติดตามข่าวสารจาก Face book : Prachuppost Newspaper

📌กดติดดาว ⭐️ เพจ …จะได้ไม่พลาดโพสต์ของเรา…ได้ที่นี่

https://www.facebook.com/prachuappost/
https://www.facebook.com/prachuppost/

***กดเข้ากลุ่ม 👨👩👧👦 กับ ประจวบโพสต์นิวส์ ได้ที่นี่

https://www.facebook.com/groups/387550115078888/

ติดตาม #ประจวบโพสต์นิวส์ #Prachuppostnews ได้ใน

Website: http://www.prachuppostnews.com/

YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCXnxGL0eeJZsm6vNRqaSUVA…

Twitter: https://twitter.com/prachuppostnews

IG : www.instagram.com/ prachuppostnews